วันอาสาฬหบูชา เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ตรงกับวันที่ 13 กรกฎาคม โดยคำว่า “อาสาฬหบูชา” มาจาก “อาสาฬหปูรณมีบูชา” ที่แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ
ซึ่งตรงกับเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย และตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย วันอาสาฬหบูชามักจะตรงกับเดือนกรกฎาคมหรือเดือนสิงหาคม หากปีไหนมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน
โดยทั่วไปชาวพุทธนิกายเถรวาท โดยเฉพาะในกัมพูชา, ลาว, พม่า, ศรีลังกา และไทย มีความเชื่อว่าวันนี้เป็นวันทำบุญครั้งใหญ่ เพราะเป็นวันสำคัญที่เกิดพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา ดังนั้น
ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับประวัติและความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชาให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น มาติดตามไปพร้อม ๆ กันเลย
วันอาสาฬหบูชา มีประวัติและความเป็นมาอย่างไร?
อย่างที่เราทราบกันดี วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า วันอาสาฬหบูชาคือวันอะไร ? มีประวัติความเป็นมาอย่างไร? ซึ่ง วันอาสาฬหบูชา คือ วันที่พระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกของโลก
ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่ง ประวัติ วันอาสาฬหบูชา เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 โดยวันนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา หลักธรรมสําคัญ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แก่ปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี
ซึ่งการแสดงธรรมให้ครั้งนี้ทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะหนึ่งในปัญจวัคคีย์ อันประกอบด้วย โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เกิดดวงตาเห็นธรรมและได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน จึงได้ขออุปสมบทกับพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา นั่นจึงทำให้พระอัญญาโกณฑัญญะกลายเป็นพระสาวกและภิกษุองค์แรกในโลก และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ วันอาสาฬหบูชา ถูกเรียกว่า “วันพระธรรม” หรือ วันพระธรรมจักร วันที่ล้อแห่งพระธรรมได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ “วันพระสงฆ์” วันที่เกิดพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก และจัดว่าเป็น”วันพระรัตนตรัย” อีกด้วย
เมื่อก่อนจะไม่มีการจัด กิจกรรม วันอาสาฬหบูชา จนมาถึงในปี พ.ศ. 2501 คณะสังฆมนตรีในประเทศไทยได้กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาอันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล
จึงทำให้ในวันอาสาฬหบูชาของทุกปีชาวพุทธนิกายเถรวาทในประเทศไทยจะพากันประกอบพิธีทำบุญครั้งใหญ่ ได้แก่ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์
ความสำคัญของวันอาสาฬหบูชา
คุณเคยสงสัยไหมว่า วันอาสาฬหบูชา มีความ สําคัญ อย่างไร ? วันอาสาฬหบูชา ถูกจัดให้เป็นวันระลึกถึง เหตุการณ์สําคัญ ของพระพุทธศาสนา ซึ่งจากการสรุปประกาศของสำนักสังฆนายกเรื่องกำหนดพิธีอาสาฬหบูชา สามารถสรุป เหตุการณ์สำคัญ 3 ประการ ที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาไว้โดยย่อ ดังนี้
- เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประกาศศาสนาพุทธครั้งแรก
- เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรก
- เป็นวันที่เกิดพระสงฆ์ครั้งแรก คือ ท่านโกณฑัญญะ ซึ่งจัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์
สำหรับหลักธรรมในวันอาสาฬหบูชานั้นมีความเกี่ยวข้องกับพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกในโลก โดยเนื้อหาในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มี 3 ตอน ดังนี้
- สิ่งที่ไม่ควรเสพสองอย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค
- ชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง คือ การปฏิบัติตนที่ไม่ตึงเกินไป
- อริยสัจ 4 คือ “กิจ” ที่ควรทำ เพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ โดยแก้จากสาเหตุของทุกข์ทั้ง 4 ได้แก่ ทุกข์ ควรรู้ /สมุทัย ควรละ / นิโรธ ควรทำให้แจ้ง / มรรค ลงมือปฏิบัติ