วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี

วันภาษาไทยแห่งชาติ
29 กรกฎาคม วันภาษาไทยแห่งชาติ

ภาษา เปรียบเสมือนเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าและความยั่งยืนด้านวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆตั้งเเต่สมัยโบราณกาลมาจนถึงปัจจุบัน

ซึ่งโชคดีของคนไทยที่มีภาษาประจำชาติเป็นของตัวเองอย่าง ภาษาไทย ภาษาที่เป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยและเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติมานานมากกว่า 700 ปี ถือเป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

โดยต้นกำเนิดของภาษาไทยเกิดขึ้น เมื่อพ่อขุนรามคำเเหงได้ประดิษฐ์ตัวอักษรไทยเมื่อปี พ.ศ. 1826 หลังจากนั้นภาษาไทยก็ได้ถูกใช้งานและได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดก็กลายเป็นตัวอักษรที่เราใช้สำหรับติดต่อสื่อสารกันในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย

อันเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมทางภาษาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ จึงได้มีการแต่งตั้งให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ซึ่งวันนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลสาระน่ารู้เกี่ยวกับวันภาษาไทยแห่งชาติมาไว้ในบทความนี้ ซึ่งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น มาติดตามไปพร้อม ๆ กันเลย 

อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ประวัติและความเป็นมาของวันภาษาไทยแห่งชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ เป็นอีกหนึ่งวันสำคัญของคนไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึงถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย เมื่อครั้งที่พ่อขุนรามคำเเหงมหาราชทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทย โดยการดัดเเปลงมาจากภาษาบาลี เเละ ภาษาสันสกฤต ที่มีชื่อเรียกว่า “ลายสือไทย” ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1826

ซึ่งในสมัยนั้น มีพยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (32 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และ จัตวา นี่จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของภาษาไทย และตั้งแต่นั้นมา ภาษาไทย ก็ได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ตัวอักษรไทยที่เราใช้ในปัจจุบัน

ลายสือ
ลายสือ ตัวอักษรไทย บนศิลาจารึก

สำหรับความเป็นมาของ วันภาษาไทยแห่งชาติ เริ่มต้นขึ้นเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ได้เสด็จพระราชดำเนินไปประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2505 โดยทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ “ปัญหาการใช้คำไทย” 

ลายสือ

ซึ่งมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ว่า “เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียงคือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน

อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จพระราชดำเนินไปประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้ สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก” ทำให้ผู้เข้าร่วมหลายคนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทยมากขึ้น

ต่อมาคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ เหมือนกับวันสำคัญอื่น ๆ หลังจากนั้นในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ทางคณะรัฐมนตรีจึงได้ลงมติให้ วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ มาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

พ่อขุนราม-แกะลายสือ
ภาพแกะสลักพ่อขุนราม กำลังแกะลายสือบนศิลาจารึก

ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ

  1. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์และนักภาษาไทยที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ภาษาไทย รวมถึงเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
  2. ร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
  3. กระตุ้นและปลุกฝังจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทยที่เป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติ และควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้
  4. สนับสนุนการใช้ภาษาไทยในทางวิชาการและวิชาชีพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับ 
  5. เปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐฯ และเอกชนทั่วประเทศ จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์สู่สาธารณชน
กิจกรรมวันภาษาไทย
กิจกรรมวันภาษาไทย ตามโรงเรียนต่างๆ

กิจกรรมที่นิยมจัดในวันภาษาไทยแห่งชาติ

โดยทั่วไปในวันภาษาไทยแห่งชาติทั้งสถาบันการศึกษา,หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ส่วนใหญ่ต่างนิยมจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ, การอภิปรายทางวิชาการ, การประกวดแต่งคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา การเล่านิทาน เป็นต้น ซึ่งเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย และเพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทยให้คงอยู่คู่กับคนไทยตลอดไป


howto

สมัครผ่านไลน์

สมัครบาคาร่า

สมัคร AUTO

สมัครแทงหวย

ทางเข้า ufabet

แทงหวย

ฝากถอนออโต้