เรื่องราวของสัตว์โลกที่ขึ้นชื่อว่าเป็นมิตรต่อมนุษย์อย่าง “โลมา” ที่ชื่อว่าปีเตอร์ ที่ตัดสินใจฆ่าตัวตายกลับคืนสู่จุดเริ่มต้น กลายเป็นโศกนาฏกรรม ที่ฝากฝังความทรงจำ และรอยน้ำตาไว้ให้กับผู้คนมากมาย https://ufaball.bet/เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์/
เรื่องราวแสนเศร้าจากความใกล้ชิด ความผูกพันที่ได้สร้าง และพัฒนามาพร้อมกันทำให้ “โลมา” ปีเตอร์ ตัดสินใจฆ่าตัวตาย
ดร.จอห์น ลิลลี่ ( Dr. John Lilly ) นักประสาทวิทยา ได้เขียนหนังสือกึ่งนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Man and Dolphin ของเขาในปี 1961 ซึ่งเน้นย้ำถึงทฤษฎีที่ว่าโลมาต้องการ ( และน่าจะ ) สื่อสารกับมนุษย์ได้ งานเขียนของ จอห์น ลิลลี่ จุดประกายความสนใจทางวิทยาศาสตร์ ในการสื่อสารระหว่างเผ่าพันธุ์ ซึ่งก่อให้เกิดการทดลองที่ผิดพลาดในเวลาต่อมา..
จุดเริ่มต้นความพยายามเชื่อมต่อระหว่างโลมาและมนุษย์
เมื่ออ่านหนังสือของจอห์น ลิลลี่ แล้ว แฟรงค์ เดรค ( Frank Drake ) นักดาราศาสตร์ หัวหน้ากล้องโทรทรรศน์ Green Bank ของหอดูดาวดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติใน เวสต์ เวอร์จิเนีย ( West Virginia ) เขาเป็นหัวหอกของ Project Ozma ในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก ผ่านคลื่นวิทยุที่ปล่อยออกมาจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ก็ดึงความคล้ายคลึงระหว่างงานของเขากับของจอห์น ลิลลี่ อย่างตื่นเต้น แฟรงค์ เดรค ช่วยหาเงินทุนจาก NASA และหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของเขาในเรื่องของ การสื่อสารระหว่างมนุษย์กับโลมา
หลังจากได้เงินทุน จอห์น ลิลลี่ จึงสร้างห้องปฏิบัติการ ที่มีพื้นที่ทำงานอยู่ที่ชั้นบน และกรงปลาโลมาที่ด้านล่าง ซ่อนตัวอยู่บนชายฝั่งทะเลแคริบเบียนอันงดงาม เขาเรียกอาคารนี้ว่า Dolphin Point
มาร์กาเรต ผู้ช่วยคนแรกที่ทุมเทให้โลมาอย่างสุดหัวใจ
เมื่อ มาร์กาเรต เฮาวอ์ โลแวตต์ ( Margaret Howe Lovatt ) วัย 23 ปีในท้องถิ่นรู้ว่ามีห้องแล็บอยู่จริง เธอจึงขับรถไปที่นั่นด้วยความอยากรู้อยากเห็น เธอจำได้ดีถึงเรื่องราวในวัยเด็กของเธอ ที่สัตว์พูดได้เป็นตัวละครที่เธอโปรดปราน เธอหวังว่าจะได้เห็นความก้าวหน้า ที่อาจทำให้เรื่องราวเหล่านั้นกลายเป็นจริงได้
เมื่อมาถึงห้องแล็บ มาร์กาเรต ได้พบกับ เกร็กกอรี่ เบตสัน ( Gregory Bateson ) ผู้อำนวยการของห้องแล็บ นักมานุษยวิทยา ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในศตวรรษที่ 20 เมื่อเกร็กกอรี่ เบตสัน ถามเธอว่า ทำไมมาอยู่ที่นี่ เธอตอบว่า “ฉันได้ยินมาว่าคุณมีปลาโลมา และฉันคิดว่าจะมาดูว่ามีอะไรที่ฉันพอจะช่วยได้หรือไม่”
เกร็กกอรี่ เบตสัน อนุญาตให้ มาร์กาเรตเข้าดูปลาโลมาได้ เขาขอให้เธอจดบันทึกขณะสังเกตโลมาพวกนั้น ทั้งเขา และจอห์น ลิลลี่ ตระหนักได้ในสัญชาตญาณของเธอ แม้เธอจะไม่เคยได้รับการฝึกฝนใด ๆ เกี่ยวกับการจัดการงานแนวนี้ แต่ทั้งคู่ก็เชิญเธอไปยังห้องแล็บ
มาร์กาเรตกับจุดเปลี่ยนในการวิจัยโลมา
เมื่อมาร์กาเรต เริ่มต้นเข้าทำงานกับโครงการของจอห์น ลิลลี่เพียงไม่นาน ความทุ่มเทของเธอก็ทวีความรุนแรงมากขึ้น เธอทำงานอย่างขยันขันแข็ง คอยดูแล และจดบันทึกต่าง ๆ ของโลมา พวกมันมีชื่อว่า พาเมลา, ซิสซี และปีเตอร์ เธอคอยฝึกสอน และพูดคุยเพื่อให้พวกเริ่มมันสร้างเสียงที่เหมือนมนุษย์ ผ่านความสามารถในการสร้างเสียงที่คล้ายกับมนุษย์ด้วยรูเสียงของพวกมัน จากบทเรียนประจำวัน แต่กระบวนการนี้เริ่มน่าเบื่อโดยมีข้อบ่งชี้ถึงความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
มาร์กาเรต เกลียดการจากลาในตอนเย็น ดังนั้นเธอจึงเกลี้ยกล่อมให้จอห์น ลิลลี่ ทำห้องทดลองกันซึมที่ท่วมไปด้วยน้ำ แล้วสร้างพื้นที่เหนือน้ำไว้ให้เธอได้ทำงาน ด้วยวิธีนี้เธอและโลมา ก็จะอยู่ด้วยกันได้ตลอดเวลา
โดยที่มาร์กาเรตได้เลือกปีเตอร์ สำหรับการทดลองภาษา ในห้องปรับปรุงใหม่นี้พวกเขาอยู่ร่วมกันในห้องทดลอง 6 วันต่อสัปดาห์ และในวันที่ 7 จะปล่อยปีเตอร์ให้ไปใช้เวลาอยู่ในบ่อน้ำกับ พาเมลา และซิสซี
ความสัมพันธ์ที่เริ่มก่อตัวของโลมาปีเตอร์
จากบทเรียนการพูด และการฝึกออกเสียงทั้งหมดของปีเตอร์ มาร์กาเรตได้เรียนรู้ว่า “เมื่อเราไม่มีอะไรทำ คือช่วงเวลาที่เราทำมากที่สุด” ปีเตอร์สนใจกายวิภาคของมาร์กาเรตมาก มันจะมองหาเธอตลอดไม่ว่าเธอจะทำอะไร เดินไปที่ไหน และเมื่อเธอลงมาในน้ำสอนมัน เล่นกับมัน มันก็จะว่ายน้ำตามวนเวียนอยู่รอบ ๆ ตัวเธอ และนั่นทำให้เธอก็หลงเสน่ห์มันมาก
ซึ่งปกติแล้วโลมาวัยรุ่นที่มีความต้องการทางเพศ จะรู้สึกตื่นเต้นมากขึ้น มันจะว่ายวนเข้าถูเข่า เท้า หรือมือของมาร์กาเรต และเธอเคยกล่าวว่า “ปีเตอร์ทำตัวเหมือนแฟนหนุ่มที่หมกหมุนอยู่กับเธอ” เมื่อจบคลาสเรียนในวันที่ 6 ปีเตอร์จะเศร้ามาก ที่ต้องจากลากับเธอเพื่อกลับไปยังบ่อน้ำด้านล่าง
สาร LSD กับความไม่เหมาะสมกับการวิจัยปลาโลมา
ในปี 1966 จอห์น ลิลลี่รู้สึกทึ่งกับพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงจิตใจของสาร LSD เขาได้รับการแนะนำ ให้รู้จักกับยาเสพติด ในงานปาร์ตี้ฮอลลีวูด โดยภรรยาของ อีวาน ทอร์ส ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Flipper
ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา จอห์น ลิลลี่ และสมาชิกของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ให้วิจัยผลกระทบของ LSD ( lysergic acid diethylamide ) เป็นสารที่มีฤทธิ์หลอนประสาทอย่างแรง ทำให้รูม่านตาขยาย อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น เพิ่มความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ หากเสพในระยะแรกจะมีความสุข อารมณ์ดีรู้สึกคึกคัก แต่หลังจากนั้นจะเกิดอาการประสาทหลอนอย่างรุนแรง จิตตกจนกระทั่งอาจทำร้ายตนเอง หรือนำไปสู่การฆ่าตัวตาย โดยเขาเชื่อว่ายานี้มีคุณสมบัติ ที่สามารถใช้รักษาผู้ป่วยทางจิตได้ เขาจึงตัดสินใจทดลองยา LSD กับปีเตอร์ ( แม้ว่ามาร์กาเรตจะปฏิเสธอยู่หลายครั้ง และไม่เต็มใจก็ตาม โดยกล่าวว่าพวกเขานั้นฉีด LSD ให้กับปีเตอร์ เพื่อใช้ประโยชน์จากมันเพื่อดูผลของยา ) ท่ามกลางคำปฏิเสธของนักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ หลาย ๆ คน
การจากลาที่ไม่มีใครคาดคิดของโลมาปีเตอร์
อย่างไรก็ตามความคิดวิจัยโลมาปีเตอร์ด้วยสาร LSD นี้ของจอห์น ลิลลี่ ทำให้ถูกผู้คนประท้วงและ โดนตัดงบประมาณการทดลองไปในที่สุด จนทำให้ Dolphin Point ต้องยุติบทบาท และปิดตัวลง
ดังนั้นการอยู่ด้วยกันของมาร์กาเรต และปีเตอร์จึงสิ้นสุดลง ซึ่งมาร์กาเรตได้ออกมาพูดว่า “ความสัมพันธ์ที่ต้องอยู่ด้วยกันนั้นกลายเป็นความสุขมาก ยังอยากอยู่ด้วยกัน และคงคิดถึงปีเตอร์มากตอนที่เขาจากไปอยู่ที่อื่น” ซึ่งปีเตอร์ได้ถูกส่งไปยังห้องทดลองแห่งหนึ่งในไมอามี่ รัฐฟลอริดา เป็นสถานที่เล็ก และคับแคบกว่าห้องแล็บที่ปีเตอร์เคยอยู่ มีแสงสว่างที่น้อยมาก ส่งผลให้ปีเตอร์ร่างกายทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว
หลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ มาร์กาเรต ก็ได้รับข่าวร้ายที่สุดสำหรับเธอ จากจอห์น ลิลลี่ เขากล่าวว่า “ปีเตอร์ฆ่าตัวตาย” คำพูดเพียงประโยคสั้น ๆ นี้บีบรัดหัวใจเธออย่างมาก…
โลมาฆ่าตัวตายได้อย่างไร ?
เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไปทำให้นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับคำว่า “ฆ่าตัวตาย” ของปลาโลมา โดย ริชาร์ต โอ แบร์รี่ ( Ric O’Barry ) อดีตครูฝึกโลมาออกมาชี้แจงว่า “โลมาไม่ได้หายใจเข้า-ออกอัตโนมัติเหมือนมนุษย์ ทุกลมหายใจของพวกมัน คือความพยายามอย่างมีสติ หากพวกมันรู้สึกว่าชีวิตเหลือทนจนเกินไป โลมาจะตัดสินใจหยุดหายใจ และจมลงสู่ก้นทะเล”
ลอรี มาริโน ( Lori Marino ) ผู้ก่อตั้ง และประธาน โครงการเขตรักษาพันธุ์วาฬ เธอมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานกายวิภาคศาสตร์ของปลาโลมา และวาฬมาเป็นเวลา 30 ปี กล่าวว่า “โลมามีความสามารถของสมองในการรับรู้ การวางแผน และฆ่าตัวตาย ซึ่งมีความซับซ้อนพอ ๆ กับลิง”
บทสรุปโศกนาฏกรรมของโลมาปีเตอร์
เจ้าโลมาปีเตอร์ อกหัก และไม่เข้าใจการพลัดพราก ความโศกเศร้าของการสูญเสียความสัมพันธ์นั้นมากเกินไป นั่นคงเป็นเหตุผลในการตัดสินใจของมัน
มาร์กาเรตเสียใจ แต่ก็โล่งใจในเวลาเดียวกัน เพราะปีเตอร์จะได้ไม่ต้องทนทุกข์ กับชีวิตในห้องทดลอง ที่เล็กแคบในไมอามี่ ความจริงเธอไม่พอใจห้องทดลองที่นั่นเป็นอย่างมาก แต่เธอก็ไม่สามารถคัดค้านมันได้
สุดท้ายนี้หลังจากเหตุการณ์ทั้งหมดจบลง มาร์กาเรตก็ยังคงใช้ชีวิตอยู่บนเกาะนี้ เธอได้ดัดแปลงห้องทดลองของ Dolphin Point มาเป็นบ้านอยู่อาศัยเพื่อกักเก็บความทรงจำดี ๆ ของเธอให้คงอยู่ตลอดไป สุดท้ายเธอก็ได้พบรัก และแต่งงานกับช่างภาพ ที่คอยถ่ายภาพในการทดลองนี้ มีลูกสาวแสนน่ารักด้วยกัน 3 คน เรียกได้ว่าชีวิตของเธอราบรื่น และมีแต่ความสงบสุข